1.ประเด็นที่จัดประชุม
1.1 การขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank)
– แนวทางการจัดตั้งธนาคารขยะ
1.2การจัดตั้งธนาคารขยะ
– การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ คณะกรรมการธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน และคณะทำงานธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน
– การจัดทำระเบียบของธนาคารขยะ
– การจัดเตรียมสถานที่และงบประมาณเริ่มต้น
– การจัดประชุมและการประชาสัมพันธ์
– การรับสมาชิกธนาคารขยะ
– การดำเนินงานธนาคารขยะ
– การสร้างความร่วมมือกับชุมชน
1.3 การสำรวจข้อมูลการคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการธนาคารขยะ
1.4 การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้การดำเนินงานธนาคารขยะ
1.5 การบริหารจัดการการเงิน รายรับ-รายจ่ายจากการจำหน่ายขยะรีไซเคิล
1.6 แนวทางการกำหนดรูปแบบผลประโยชน์และสวัสดิการสำหรับธนาคารขยะ
1.7 แนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการให้กับสมาชิกธนาคารขยะและประชาชนในพื้นที่
1.8 แผนงานและแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะ
2.ผู้เข้าร่วมประชุม
– นายกเทศมนตรีตำบลออนใต้
– หัวหน้าสำนักปลัด
– เจ้าพนักงานธุรการ
– กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 11 หมู่บ้าน
– สท. เขต 1, เขต 2 จำนวน 12 ท่าน
– รพ.สต.บ้านแม่ผาแหน
– คณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกเทศบาลตำบลออนใต้
3.ผลจากการประชุม
ผลการประชุมมีมติเห็นด้วยในการจัดตั้งธนาคารขยะ และทุกหมู่บ้านมีความพร้อมในการจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อลดปัญหาขยะในพื้นที่ และทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการคัดแยกขยะที่มีปริมาณมากขึ้นในทุกเดือน และหากเป็นสมาชิกของธนาคารขยะก็จะได้รับสวัสดิการของธนาคารขยะด้วย
4.การนำข้อสรุปไปปฎิบัติ
- สํารวจข้อมูลขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน การจัดการขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย การรีไซเคิลขยะ และผู้ประกอบการับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่
- มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น
- มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ และจัดตั้งคณะทำงานชุมชน/หมู่บ้าน
- ประชุมและแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ
- มีการจัดทำระเบียบ/ข้อบังคับธนาคารขยะ
- มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
- มีการเปิดรับสมาชิกธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน
- มีการประชุมทำความเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะรีไซเคิล
- จำนวนธนาคารขยะที่ดำเนินการก่อนหนังสือสั่งการ
- จำนวนธนาคารขยะที่ดำเนินการหลังหนังสือสั่งการ